ปั๊มลม

Description of your first forum.
ตอบกลับโพส
naliti
Site Admin
โพสต์: 72
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.พ. 20, 2024 2:45 am

ปั๊มลม

โพสต์ โดย naliti »

ปั๊มลม

รูปภาพ

วิธีเลือกซื้อ ปั๊มลม

วิธีเลือกซื้อ ปั๊มลม (air compressor) เพื่อให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน เราควรจะคำนึงถึง ขนาด ประเภท และชนิดของปั๊มลม เรามีข้อแนะนำในการเลือกซื้อมาฝากครับ

1. ปั๊มลมใช้งานอย่างไร? เช่นมีการใช้ลมตลอดทั้งวันหรือไม่ หรือมีการใช้งานเป็นครั้งๆ รายชั่วโมง เพื่อที่จะเลือกซื้อปั๊มลม (air compressor) ที่สามารถจ่ายไฟและแรงดันลมได้เหมาะสม เพราะหากเครื่องมีขนาดเล็กเกินไปก็จะทำงานหนักหากซื้อปั๊มลมที่มีขนาดใหญ่เกินกำลังก็จะกินไฟโดยใช่เหตุ ยกตัวอย่างเช่น อู่ซ่อมรถ ที่มีการใช้ลมเพียงบางช่วงของวัน อาจเลือกใช้ปั๊มลมขนาดเล็กแบบลูกสูบ (piston compressor) ในขณะที่ปั๊มลม ขนาดใหญ่แบบสกรูโรตารีจะเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการใช้ลมตลอดทั้งวันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

2. สถานที่ติดตั้งปั๊มลม เพื่อที่คุณจะต้องวางแผนระบบระบายความร้อนให้เหมาะสม ต้องรู้ว่าความเร็วลมหรืออัตราการไหลของลมเป็นอย่างไร ควรจัดวางตัวเครื่องในลักษณะใด เพราะเราไม่สามารถวางปั๊มลม (air compressor) ไว้ในพื้นที่ปิดสนิทได้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาความร้อนสูงเกินไปและเครื่องชำรุดก่อนเวลาอันควร การออกแบบห้องคอมเพรสเซอร์จึงควรคำนึงถึงการไหลเวียนของอากาศเสมอ เพื่อให้สามารถดึงอากาศเย็นเข้าสู่ภายในตัวเครื่องและสามารถระบายลมร้อนออกจากห้องได้จึงเลือกขนาดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมให้ตรงกับพื้นที่ว่างที่มีอยู่ได้

3. หากต้องการเลือกปั๊มลม ต้องทราบว่าการใช้งานลม ต้องใช้แรงดันกี่ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) เช่น เครื่องเปลี่ยนยางในอู่ซ่อมรถอาจใช้ลมสูงสุดที่ 150 psi ในขณะที่เครื่องมือช่างต้องใช้เพียง 90-100 psi หากอุปกรณ์ใดต้องการ ค่า psi สูงอาจต้องใช้ปั๊มลมแบบสองขั้นตอนหรือหลายขั้นตอน (multi-stage compressor) เพื่อให้สามารถผลิตแรงดัน psi ได้ตามต้องการ คุณสามารถติดตั้งตัวควบคุมแรงดัน (regulator) เพื่อลดแรงดันอากาศให้ไม่สูงเกินไปเนื่องจากการใช้แรงดันที่สูงเกินไปจะทำให้เครื่องมือเสียหายและเปลืองไฟได้

4. อัตราการไหลของลม ปริมาณลมดูดหรือปริมาตรอากาศอิสระ (Free Air Delivery : FAD) มีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (cfm) เป็นปริมาณการไหลของอากาศ (air flow) ที่ปั๊มลมสามารถสร้างขึ้นได้ตลอดเวลา สามารถบีบอัดออกมาเป็นความจุแบบลูกสูบ (piston displacement) หรือลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีจริง (acfm) ดังนั้นการเลือกปั๊มลมจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า acfm สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ เนื่องจากนี่คือปริมาณอากาศทั้งหมดที่มีให้ใช้งาน เครื่องมือหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนด cfm ดังนั้นคุณสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเลือกขนาดปั๊มลมได้อย่างเหมาะสม

5. แรงม้าของปั๊มลม เป็นหน่วยวัดกำลังการทำงานของมอเตอร์ที่ปั๊มลมผลิตได้โดยปกติ ยิ่งแรงม้าสูงเท่าไหร่ ค่า cfm ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย แต่อย่าลืมว่าแรงม้า (HP) ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความต้องการใช้งานที่ดี เราขอแนะนำให้คุณพิจารณาจากค่า psi และ cfm ตามการใช้งานจริง ในปัจจุบันผู้ผลิตปั๊มลมได้ออกแบบปั๊มลมเพื่อให้ได้ค่า cfm ต่อแรงม้ามากขึ้น เราจึงสามารถที่จะเลือกซื้อปั๊มลมที่มีแรงม้าน้อยกว่าเดิมได้ ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่าทั้งการซื้อและที่สำคัญคือช่วยประหยัดพลังงานได้มหาศาล

6. ถังลมขนาดของถังเก็บลมจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าแรงดันอากาศในถังนั้นพร้อมใช้งานหรือไม่ ถังเก็บลมขนาดใหญ่จะช่วยให้ปั๊มลมทำงานน้อยลงหากมีแรงดันลมขั้นต่ำหมุนเวียนอยู่ในระบบ ซึ่งถังเก็บลมขนาดเล็กจะต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อมีการใช้งานอากาศ เพื่อผลิตอากาศเติมในส่วนที่มีการใช้งานไปการเลือกถังเก็บลมแนวตั้งหรือแนวนอนนั้นไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของปั๊มลมแต่อาจจะส่งผลต่อพื้นที่ใช้งานหรือพื้นที่ติดตั้ง จึงขอแนะนำให้คุณเลือกใช้ถังแนวตั้งหากติดตั้งในพื้นที่ขนาดเล็ก เนื่องจากถังเก็บลมแนวนอนจะเหมาะกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีขนาดใหญ่ โดยทั่วไปเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสกรูโรตารี่แบบความเร็วคงที่ (fixed speed rotary screw compressors) จะมีหลักการคือปั๊มลมหนึ่งตัวจะใช้ถังเก็บลมจำนวน 4 ตัวต่อ cfm ของอากาศที่ผลิตได้ แต่หากเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ (VSD compressors) จะใช้ถังเก็บลมเพียง 1 แกลลอนต่อ cfm สำหรับปั๊มลมแบบลูกสูบ (piston compressors) นั้น การใช้ถังเก็บลมขนาดใหญ่จะทำให้สามารถหมุนเวียนลมได้น้อยลง การใช้ถังขนาดใหญ่จึงไม่จำเป็นและยังทำให้ปั๊มลมทำงานหนักเกินจำเป็น

7. ควรติดตั้งอุปกรณ์เสริม ควรพิจารณาติดเพิ่มได้แก่ ระบบขับเคลื่อนกรณีใช้งานหนัก ระบบระบายความร้อนที่ดี คุณภาพอากาศที่ใช้เป็นแบบ oil-free หรือ oil-injected ตัวกรองสำหรับรับอากาศขาเข้า มอเตอร์แบบปรับความเร็วรอบได้ การอัดแบบหลายขั้นตอน โครงสร้างสแตนเลสหรือเหล็ก มีการใช้งานในอุณหภูมิแวดล้อมสูง ซึ่งควรพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการในการใช้งาน

8. กำลังไฟฟ้า ปั๊มลมที่ติดตั้งสำหรับใช้งานอุตสาหกรรมนั้นใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าบ้านเรือนมาก โดยกำลังไฟฟ้าตามบ้านเรือนจะเป็นแบบเฟสเดียว 110v สามารถรองรับการใช้งานของปั๊มลมได้สูงสุดเพียง 3 แรงม้าเท่านั้น หากเป็นแบบเฟสเดียวแต่ 230v สามารถรองรับการใช้งานของปั๊มลมได้สูงสุดเพียง 5 แรงม้า ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยหากต้องการใช้กำลังไฟเพิ่มขึ้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนเป็นแบบ 3 เฟส

รูปภาพ

1. สกรู (Screw) ปั๊มลม แบบสกรูมีหลักการทำงานโดยให้เพลาสกรูสองตัว (เพลาสกรูตัวผู้และเพลาสกรูตัวเมีย) หมุนเข้าหากัน ดูดและอัดอากาศผ่านเกลียวสกรู และใช้แบริ่งช่วยลดแรงเสียดทานรองรับน้ำหนักรับเพลาให้เที่ยงตรง ทั้งแนวรัศมีและแนวแกน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สกรูสองตัวสัมผัสกัน ส่วนการระบายความร้อน จะมีทั้งการใช้อากาศ น้ำ และน้ำมัน เป็นตัวระบายความร้อนขณะทำงาน ดังนั้นสกรูจึงเป็นหัวใจหลัก และเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของปั๊มลมสกรู

รูปภาพ

ค่า IP มอเตอร์ รู้ไว้ เลือกใช้ให้ถูก IP 55 ตัวมอเตอร์ไฟฟ้า มีความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้ แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป โดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้น ต้องไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์ และมีความสามารถที่จะป้องกันการฉีดน้ำได้ทุกทิศทาง (เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในร่มและกลางแจ้ง)

สิ่งที่ควรทราบเบื้องต้น ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อปั๊มลมสกรู นอกเหนือจากชื่อเสียง และความมั่นคงของบริษัทผู้ขายแล้วนั้น ราคาอาจจะไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่สุดของการตัดสินใจเลือกซื้อนะจ๊ะ เรามาอ่านไปพร้อมๆกันเลยจ้า จะได้เลือกซื้อแล้วไม่ผิดหวังกันนะคะ‍ # Airhorse # รับประกันสกรู 5 ปี # มอเตอร์ IP55 # การเลือกซื้อปั๊มลมสกรู # สกรูผลิตและนำเข้าจากประเทศเยอรมณี

รูปภาพ

2. ค่า IP มอเตอร์ รู้ไว้ เลือกใช้ให้ถูก ค่า IP CODE คือค่ามารตฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นละอองและน้ำของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า การบอกถึงระดับการป้องกันนั้นจะถูกแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยหลักแรกจะหมายถึงระดับการป้องกันฝุ่นละออง หรือวัตถุของแข็งหรือการสัมผัสโดยบังเอิญ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6
ส่วนหลักที่ 2 จะหมายถึง ระดับการป้งกันน้ำ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-9 การรู้จักค่า IP เป็น จะช่วยให้เราเลือกใช้งานมอเตอร์ได้ถูกต้องตามลักษณะงาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะนำไปใช้งานอีกด้วย

รูปภาพ

3. หน้าจอแสดงผล (Control panel) ปั๊มลมสกรูเป็นปั๊มลมที่มีระบบที่สามารถสื่อสารหรือส่งข้อมูลต่างๆภายในตัวเครื่อง ให้ผู้ใช้ตรวจสอบทางหน้าจอได้ โดยจะมีหน้าจอหลากหลายรูปแบบ ปัจุบันนิยมใช้แบบ Touch Screen โดยจะแจ้งข้อมูลทั่วไป เช่น กระแสไฟในขณะนั้น การแจ้งเตือนต่างๆ เกี่ยวกับระบบการทำงาน เช่นการเปลี่ยนอะไหล่เมื่อครบชั่วโมงการทำงาน เพื่อจะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม การแจ้งเตือนอุณหภูมิภายในปั๊มลมแรงดันลมขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น

รูปภาพ

4. การบริการหลังการขาย (After Service) บริษัทที่จำหน่ายปั๊มลมสกรู ควรมีทีมบริการหลังการขายที่มีประสบการณ์สูง มีทีมบริการที่มีจำนวนเพียงพอที่จะ ดูแลลูกค้าได้ทั้งหมด เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ตรงเวลา และสามารถซ่อมบำรุงได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยควรสามารถเข้าบริการได้ ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ การหยุดไลน์การผลิตส่งผลเสียหายค่อนข้างสูง

รูปภาพ

5. ค่าบริการเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองในอนาคต เครื่องปั๊มลมสกรู เมื่อครบชั่วโมงการทำงานตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลือง เช่น น้ำมัน,สกรู, ตัวกรองอากาศ, เป็นต้น ดังนั้นจึงควรทราบราคาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ

รูปภาพ

6. ระยะเวลาในการรับประกัน (Warranty period) บ่งบอกถึงคุณภาพมาตรฐานของวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกใช้ในการผลิตเครื่องปั๊มลมสกรู

7. ราคา (Price) การตัดสินใจในการเลือกซื้อปั๊มลมสกรูนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรื่องของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณา ดังนั้น คำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับราคาได้ ว่าเหมาะสมหรือไม่

รูปภาพ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณ สยามรัศมิ์

Tel: 095-669-5654 Tel: 095-669-5456

รูปภาพ

บริษัท แอร์ ฮอร์ส คอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ( ส.น.ญ )

142/1 หมู่ที่ 1 ตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170

Tel: 033-042-453 , 095-669-5654

E-mail: [email protected]

E-Mail: [email protected]

E-Mail: [email protected]

https://www.ปั๊มลม.net
ตอบกลับโพส